การพิมพ์ตาราง

  1. ชื่อตาราง จะต้องเขียนให้สมบูรณ์ อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้เลย
  2. ให้เขียนชื่อตารางเป็นภาษาไทยทั้งหมด (เท่าที่ทำได้)
  3. ชื่อตาราง หมายเลขตาราง และคำอธิบายให้เขียนด้านบนสุดของตาราง โดยพิมพ์คำว่า “ตาราง” และหมายเลขเป็นตัวหนา ตามด้วยคำอธิบายตัวปกติ เช่น

ตารางที่/1.1////////ข้อความแบบทั่วไปเป็นภาษาไทย”

  1. ควรที่เขียนเรียง/กำหนดลำดับหมายเลขของตารางให้หมดในบทที่หนึ่ง ๆ เพราะถ้ามีการกำหนดหมายเลขแบบรวมทั้งเล่ม ถ้าเกิดข้อผิดพลาดในการเรียงลำดับ ก็ต้องแก้ไขหรือพิมพ์ออกมาหมดทุกบท
  2. ถ้าคำอธิบายยาวมากกว่า 1 บรรทัด ให้พิมพ์บรรทัดต่อไปโดยพิมพ์ให้ตรงกับอักษรตัวแรกของคำบรรยายและไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค (-) หลังประโยคแรกส่วนเนื้อหาให้ใช้ภาษาไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. หากตารางยาวเกินไปจนไม่สามารถบรรจุในหน้ากระดาษเดียวได้ ให้พิมพ์ต่อในหน้าถัดไป โดยมีหมายเลขลำดับตารางและคำว่า “ต่อ” เช่น

ตารางที่ 1.1 (ต่อ)” โดยคำว่า “ต่อ” จะไม่เน้นตัวหนา

  1. ตารางที่พิมพ์ตามแนวขวางของกระดาษ ให้พิมพ์หมายเลขและชื่อตารางไว้ด้านซ้ายของกระดาษ (ด้านสันปก)
  2. ไม่ต้องกำหนดเส้นแบ่งคอลัมน์ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และไม่ต้องกำหนดเส้นแบ่งแบ่งบรรทัดทั้งด้านและด้านล่าง
  3. ตารางที่มีความจำเป็นต่อเนื้อหาน้อย ให้แสดงไว้ในภาคผนวก เช่น ตารางวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)
  4. คำย่อ หรือคำขยายความหมายในตาราง ให้เขียนอธิบายไว้ท้ายตารางด้านล่างสุด ก่อนคำว่า “ที่มา” (ในกรณีที่อ้างอิงตารางของผู้อื่นมา) แต่การพิมพ์ตารางในบทที่ 4 (ผลและวิจารณ์) ไม่มีต้องระบุคำว่า “ที่มา
  5. การอ้างอิงตารางจากผู้แต่งอื่น ต้องแสดงคำว่า “ที่มา” ไว้ชิดซ้ายสุด เช่น

ที่มา/:///Bose/และคณะ/(1984) ”

 

ตัวอย่างการพิมพ์ตารางโดยทั่วไป ดังแสดงในตารางที่ 1.1